หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ผศ.ประพันธ์ กุลวินิจฉัย
 
เข้าชม : ๔๘๓ ครั้ง
วิเคราะห์ความเชื่อเรื่องคุณค่าของสุภาษิตพระร่วงที่มีต่อสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : ผศ.ประพันธ์ กุลวินิจฉัย ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๕/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

                การศึกษาเรื่อง ความเชื่อเรื่องคุณค่าสุภาษิตพระร่วงต่อสังคมไทย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการได้แก่ (๑)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อในสุภาษิตพระร่วงของสังคมไทย (๒)  เพื่อศึกษาคุณค่าของสุภาษิตพระร่วงที่มีต่อการดำเนินชีวิตของสังคมไทย

ผลการวิจัยพบว่า การสืบค้นของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ลงความเห็นกันว่า เป็นสุภาษิตที่พระร่วงเจ้าทรงตรัสสอนพสกนิกรและข้าราชการในพระองค์ตามศิลาจารึกหลักที่๑ของพ่อขุนรามคำแหงสมัยสุโขทัยว่า ทรงให้ทำแท่นหินคล้ายที่นั่งเพื่อแสดงธรรมสำหรับพระสงฆ์เสร็จแล้วทรงให้นำไปตั้งที่ดงตาลแล้วทรงให้นิมนต์พระสงฆ์นั่งแสดงธรรมแก่ประชาชนในวันพระวันโกน สำหรับวันอื่นๆที่พระสงฆ์ไม่แสดงธรรม พระร่วงเจ้าก็จะให้พสกนิกาทั้งบรรดาเสนามาตย์เข้าเฝ้าเพื่อฟังพระโอวาทรับเอาข้อปฏิบัติ ดังนั้นสุภาษิตพระร่วงน่าจะได้จากสถานที่นี้ แต่ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษ์อักษรหรือจารึกใดๆในสมัยสุโขทัย  ต่อมาปรากฏว่ามีโคลงประดิษฐ์พระร่วงในสมัยอยุธยาตอนปลายซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ด้วยทรงเห็นคุณค่าในคำสอนจารึกไว้ให้รุ่นหลังได้รู้กันต่อไป จากโคลงประดิษฐ์ จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงทรงให้จารึกสุภาษิตพระร่วงไว้ ณ วัดโพธิ์ ทีผู้รู้สันนิษฐานว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชำระร่ายสุภาษิตพระร่วงโดยสังเกตจากความเคร่งครัดในการใช้ฉันทลักษณ์ของร่ายที่ส่วนมากวรรคละ ๕ คำ มีทั้งหมด ๑๕๘ บท

ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์เพื่อให้ไดเกิดความรู้ใหม่ด้วยการนำมาอุปมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมในพระไตรปิฎก พบว่า เข้ากับหลักธรรมเช่น   มีความสันโดษ   พอใจแต่ในสิ่งที่ตนมีอยู่ ไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น มีความระมัดระวังในกิจการต่าง ๆไม่โอ้อวดตนเอง  เคารพนับถือผู้ใหญ่  มีความรักตนยิ่งกว่ารักทรัพย์สมบัติ  มีเหตุผล มีอัธยาศัยต่อผู้อื่น เอื้อเฟื้อญาติพี่น้อง มีใจกล้าหาญ มีเหตุผล  เป็นคนประหยัด  ไม่ผูกพยาบาท  มีวาจาสัตย์  มีใจหนักแน่น ไม่เชื่อถือสิ่งใดง่าย ๆ  ไม่เป็นคนเจ้าเล่ห์  มีมารยาท  จดจำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  คิดก่อนแล้วจึงพูด  ไม่อวดดีต่อผู้อื่น  มีความเด็ดขาดจริงจังไม่เหลาะแหละ  ดูตัวอย่างที่ดีเพื่อประพฤติปฏิบัติตาม  ไม่เป็นคนมักง่าย  ไม่เห็นแก่สิ่งที่มีค่าน้อยยิ่งกว่าสิ่งที่มีค่ามาก

ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ถอดความในสำนวนร่ายทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นด้วยภาษาร่วมสมัยและภาษาทางพุทธศาสนาเป็นการเพิ่มคุณค่าของสุภาษิตที่มีอิทธิพลในด้านต่างๆ เช่น คุณค่าทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางสิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม เป็นต้น

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕